มหาวิทยาลัยราชภัฏ เดิมเป็นโรงเรียนอาชีพประจำจังหวัด ตั้งขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2477 ที่หมู่บ้านมลายูบางกอก ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลาเป็นผู้จัดตั้งโดยใช้เงินศึกษาพลี (เงินศึกษาพลีเป็นเงินที่รัฐเก็บจากชายไทยอายุ 18-60 ปี เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการจัดการศึกษา) เป็นค่าก่อสร้างสถานที่ จำนวนเงิน 2,000 บาท ดำรงโรงเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา พุทธศักราช 2464 สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และประโยคประถมบริบูรณ์ คือ ชั้นประถมปีที่ 6 ในสมัยนั้น วันที่ 17 พฤษภาคม 2478 ย้ายโรงเรียนมาตั้งที่ข้างวัดพุทธภูมิ คือ ส่วนของบริเวณโรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลาในปัจจุบัน ซึ่งการย้ายโรงเรียนในครั้งนี้ ด้วยสาเหตุที่ว่าที่ตั้งโรงเรียนเดิม คือ ที่มลายูบางกอกเป็นเนินสูงไม่เหมาะแก่การฝึกหัดภาคปฏิบัติ คือ การทำสวนปลูกผัก ในสมัยนั้นพระภูมิพิชัยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีพัฒนาการมากว่า 80 ปี (นับถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2557) เริ่มจากการต่อตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดครู ตั้งปี พ.ศ. 2477 จนถึงในปัจจุบันยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา"
วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ประวัติความเป็นมา
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ปรัชญา
สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
- คำอธิบายเพิ่มเติมปรัชญา
- มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น ด้วยกระบวนการพัฒนาองค์ความรู้บนพื้นฐาน การบูรณาการศาสตร์สากล และภูมิปัญญาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์
มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้ The WISDOM Bank University
คำอธิบายเพิ่มเติม
- องค์กรที่มีเครือข่ายและพัฒนาสู่สากล (World Wide)
- องค์กรแห่งสติปัญญาและความรู้ (Intellectual)
- องค์กรแห่งความสง่างาม (Smart)
- องค์กรแห่งวิถีประชาธิปไตย (Democracy)
- องค์กรแห่งการจัดการตนเอง (Self-Organized)
- องค์กรแห่งคุณธรรมจริยธรรม (Morality)
(กำลังปรับปรุงข้อมูล)
พันธกิจ
1.ผลิตบัณฑิต
2.ให้บริการวิชาการแก่สังคม
3.วิจัย
4.ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5.พัฒนาครูและบุคลกรทางการศึกษา
6.เสริมสร้างความสมานฉันท์ให้สังคมพหุวัฒนธรรม
7.พัฒนาองค์กรคุณภาพ
หลักสูตรที่เปิดสอน
![]() |
หลักสูตรที่เปิดสอน
|
จำนวนหลักสูตรและสาขาวิชาที่เปิดสอน ปีการศึกษา 2558 ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คณะ/สาขาวิชา จำนวนหลักสูตร คณะครุศาสตร์ 5 ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษาและสุขศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ฯ 14 ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสังคมศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาชุมชน ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนวัตกรรมทัศนศิลป์ ศิลปบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบศิลปกรรม รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต นิติศาสตรบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ 9 บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการการจัดการ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ นิเทศศาสตรบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์ฯ 16 ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี คณะ/สาขาวิชา จำนวนหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ การแพทย์แผนไทยบัณฑิต |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)